วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คุณคิดว่าความเชื่อเรื่องพิธีกรรเสียกระบาลของคนชนบทสามารถเป็นการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้หรือไม่

                          

พิธีเสียกระบาล
พิธีนี้ชาวบ้านมักเรียกว่าพิธีเสียกระแบะกระบาลเป็นพิธีที่ใช้กับผู้ที่เจ็บป่วยทุกวัย คำว่ากระแบะกระบาลเป็นภาษาชาวบ้าน ถ้าจะวิเคราะห์คำแล้ว จะได้ความหมายดังนี้คือ กระแบะได้แก่สิ่งของที่ทำขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตัวอย่างเช่น การทำแพไม้รวกไม้ไผ่เขาจะมัดให้เป็นลูกบวบหลาย ๆ ลูก นำมาผูกตรึงติดกับคาน เรียกว่า ตอนแพหนึ่งตอนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลอยอยู่ในน้ำ คำว่า ตอนนี้ ชาวบ้านเรียกว่า กระแบะกระแบะในพิธีนี้ทำด้วยกาบกล้วย เป็นกระบะรูปสี่เหลี่ยม มีขอบปากสูงประมาณ 2 - 3 นิ้ว ก้นกระบะใช้กาบกล้วยกรุตามแบนส่วนคำว่า กระบาลแปลว่า ตรงกลางตรงกลางในที่นี้คือทาง 3 แพร่ง ตามปกติทาง 3 แพร่งมักจะอยู่บริเวณกลางหมู่บ้านเมื่อรวมความหมายของคำว่า กระแบะกระบาล เข้าด้วยกันแล้วได้ความว่า นำกระบะไปไว้ทางสามแพร่งคำว่า ทาง 3 แพร่ง คือชุมทางที่มาพบกัน 3 ทาง ในชนบททางเดินไม่ใช่ถนนอย่างเดี๋ยวนี้ เป็นทางแคบแค่รอยเท้าย่ำไปได้เท่านั้น ถ้าจะเปรียบกันแล้วเหมือนเส้นที่ลากขึ้นแบบคดโค้งไปมานั่นเอง บริเวณที่เส้นทาง 3 เส้นมาพบกันเรียกว่า ทางสามแพร่ง เมื่อเกิดเจ็บป่วยกันขึ้นคราใด ชาวบ้านเชื่อว่าผีเป็นต้นเหตุ ของการเจ็บไข้ได้ป่วย จึงหาวิธีรักษาหรือแก้กันที่ต้นเหตุ ฉะนั้นจึงใช้พิธีเสียกระบาล เพื่อผีตายโหง ที่ชอบมาทักทาย ความเจ็บป่วยจะได้หายไป พิธีเสียกระบาลเป็นลักษณะ การบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่ชาวบ้านสร้างขวัญและกำลังใจ ให้เกิดขึ้นเมื่อจิตใจสบายขึ้นโรคก็ลดลงสิ่งของที่ใช้ในการทำพิธีก็มีตุ๊กตารูปคนปั้นด้วยดินเหนียว พริก หอม กระเทียม ข้าวสาร เกลือใส่กระทงเล็ก ๆ นำสิ่งของทั้งหมดใส่ในกระบะกาบกล้วย ผู้นำไปจะมีมีดไปเล่มหนึ่ง ธูป 1 ดอก เมื่อถึงทาง 3 แพร่ง จะวางกระบะจุดธูปปักไว้ในกระบะแล้วกล่าวคำว่า ผีตายโหง ผีตายห่า ผีป่า ผีปอบที่มาทักทาย (ออกชื่อคนป่วย) ขณะนี้ได้นำสิ่งของมาให้แล้ว ขอให้คนป่วยหายขาดนะ อย่ามารบกวนอีกเป็นอันขาดเสร็จแล้วเดินกลับบ้านโดยไม่หันหลัง เมื่อถึงบ้านแล้วจะใช้มีดโต้เคาะที่เสาหรือฝา 1 ที แล้วถามว่า ไข้หายไหมจะมีคนตอบว่า หายแล้วเป็นเสร็จพิธี บางหมู่บ้านแถบแควใหญ่ ใช้ข้าวปากหม้อ แกงปากหมอ ใส่กระทงแทนตุ๊กตา หอม กระเทียม ฯลฯ ใส่กระบะกาบกล้วยไปไว้ทาง 3 แพร่ง เหมือนกัน การเสียกระบาลนิยมทำกันในตอนเย็น เพราะชาวบ้านถือว่าเวลาเย็น ๆ เป็นเวลาที่ผีออกหากินพิธีที่ชาวบ้านนับถือและปฏิบัตินี้เป็นสิ่งประกอบ การรักษาความเจ็บไข้เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ การรักษาจริง ๆ จำเป็นต้องใช้ยาสมุนไพรช่วยด้วย ทุกหมู่บ้านมักจะมีหมอแผนโบราณประจำหมู่บ้าน ฉะนั้นการเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อได้รักษาด้วยยาสมุนไพร แล้วมีโอกาสหายได้ ส่วนพิธีกรรมที่นำมาประกอบนั้น อาจจะเป็นผลทางใจ คนเราถ้าใจดีไม่วิตกกังวลวุ่นวายแล้ว ความเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะหายเร็ว ดังนั้นถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว คนโบราณรู้วิธีบำบัดโรคได้ถูกทางเหมือนกัน คือใช้ความเชื่อของตนแก้โรคภัยไข้เจ็บ เหมือนหนามยอกเอาหนามบ่งนั่นเอง วิถีชีวิตเช่นนี้แสดงให้เห็น การพึ่งตนเองของคนในสมัยโบราณ นับว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็ง เชื่อมั่นในตนเองอีกวิธีหนึ่ง

คุณคิดว่าข้อดีของความเชื่อเรื่องประเพณีบุญบั้งมีอะไรบ้าง

                                        

ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วันชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้  พญาแถนจึงให้คำมั่น หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก

คุณคิดว่าความเชื่อเรื่องของประเพณีบุญบั้งไฟสามารถช่วยให้ฝน ฟ้าตกต้องตามฤดูกาลได้หรือไม่



                     



ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว
      ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน

     ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้

    พญาแถนจึงให้คำมั่น หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก
      ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
บุญเดือนหก จัดเป็นบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะลงมือทำนาโดยมีจุดประสงค์สำคัญ คือ การขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสาน ถือว่าบุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดบุญบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ

      เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ สำหรับการจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟนั้น ในวันสุกดิบ ซึ่งหมายถึงวันที่ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่บั้งไฟไปยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน

      เพื่อทำพิธีเซ่นสรวง มีการจุดบั้งไฟที่ใช้ในการเสี่ยงทาย เพื่อเสี่ยงทายดูความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จในการทำนาของปีนั้น จากนั้นก็พากันดื่มเหล้าฟ้อนรำรอบศาลปู่ตาเป็นที่สนุกสนาน แล้วก็แห่บั้งไฟไปยังสถานที่จัดงาน หรือหมู่บ้านที่จัดงานบุญบั้งไฟ เพื่อจุดแข่งขันประกวด ประชันกันต่อไป

       ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า
"วันโฮม" จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหนกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิดการระเบิด

      ปัจจุบันได้มีการประกวดความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าและหากบั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้าน เจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตมกลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ
      ในปัจจุบันบั้งไฟที่ใช้จุดแข่งขันมีหลากหลายที่นิยมเรียกกัน ได้แก่ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ซึ่งมีปริมาณของดินปืนมากน้อย แตกต่างกันไป "บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอกไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการบวงสรวงพญาแถนโดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ

"บั้งไฟธรรมดา" บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม

"บั้งไฟหมื่น" บรรจุดินปืนขนาด 12-199 กิโลกรัม
"บั้งไฟแสน" บรรจุดินปืนขนาด 120-299 กิโลกรัม
บั้งไฟล้านบรรจุดินปืนขนาด 300 กิโลกรัมขึ้นไป       ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็เชื่อว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดีชาวบ้านก็จะพากันเลี้ยงฉลองรื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไปร่วมงาน หากบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น 
    พิธีกรรม ประกอบด้วย
- การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม
- การประกวดขบวนรำเซิ้ง

- การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
- การแข่งขันจุดบั้งไฟแฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
- การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
     สรุป

     ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชนในชุมชน เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวอีสานเอาไว้ให้สืบทอดถึงลูกหลาน

    และสืบสานประเพณีความเชื่อในเรื่องการขอฝนของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท






วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คุณคิดว่าข้อดีของประเพณี และความเชื่อ เรื่อง บุญสารทเดือนสิบของคนชนบทคืออะไร

ประเพณี พิธีการ และความเชื่อ เรื่อง บุญสารทเดือนสิบ 


ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี “เปตพลี” ของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ปฏิบัติต่อเนื่องมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล  พระพุทธองค์เห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีงามจึงอนุญาตให้พุทธบริษัทปฏิบัติสืบเนื่อง
ต่อกันมา  จึงก่อเกิดประเพณีและพิธีกรรม   เพื่อให้มีพิธีการปฏิบัติเป็นแบบ  ยึดถือตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบจึงเป็นสื่อให้เกิดการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ หลังจากที่ตายไป  เชื่อว่าผู้ทำกรรมใดย่อมได้รับกรรมนั้น ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก เป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะผลแห่งบาปที่ทำไว้และ ดำรงชีพอยู่ด้วยการอาศัยส่วนบุญจากการ การอุปการะของญาติพี่น้องหรือผู้อื่น ที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ส่วนเดียว จึงจะมีความเป็นอยู่พออยู่ได้ ถ้าไม่มีใครอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับบุญ
เมื่อลูกหลานเชื่อว่าบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ต้องเสวยกรรมอยู่ในนรก ในช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ จนถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ จะได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานญาติพี่น้อง ที่เมืองมนุษย์ ดังนั้นในวันแรม  1  ค่ำ  จึงมีการทำบุญรับตายาย  และในวันแรม  15  ค่ำ  เดือนสิบ  เป็นวันที่เปตชน ทั้งหลายต้องกลับนรกตามเดิม ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษเปตชน อีกครั้งเป็นส่งตายาย เดินทางกลับเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที จึงมีการทำบุญยกหฺมฺรับใหญ่กันอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรพบุรุษเดินทางกลับอย่างมีความสุข มีสิ่งของที่ลูกหลานอุทิศไปให้ใช้ในระหว่างเสวยกรรมเพียงพอในรอบปี การจัดหฺมฺรับ  มีการบรรจุสิ่งของลงในภาชนะโดยชั้นล่างสุด   เป็นสิ่งของที่มีน้ำหนักมากจัดสิ่งของประเภทอาหารแห้ง   ลงไว้ที่ก้นภาชนะ  ได้แก่  ข้าวสารใส่รองก้นภาชนะแล้วใส่พริก  เกลือ  หอม  กระเทียม  กะปิ  น้ำปลา  น้ำตาล  มะขามเปียก  รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม  เนื้อเค็ม  หมูเค็ม  กุ้งแห้ง  เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นและน้ำดื่ม
โดยสรุปประเพณี พิธีการ และความเชื่อ เรื่องบุญสารทเดือนสิบมีขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกคือเนื่องมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่เชื่อว่าในปลายเดือนสิบปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และคนบาปทั้งหลายที่ตกนรก จะถูกปล่อยจากนรกให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องในวันแรม  1 ค่ำ เดือนสิบ และให้กลับไปนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ดังนั้นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็พยายามหาอาหารต่างๆ ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้  ประการที่สองเป็นการทำบุญเนื่องจากความชื่นชมยินดีในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตร  ประการที่สามเพื่อนำพืชผลต่างๆ ที่ได้รับจากการเกษตรไปทำบุญสำหรับพระภิกษุจะได้เก็บไว้เป็นเสบียงในฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มในตอนปลายเดือนสิบ และประการสุดท้ายเพื่อเป็นการแสดงความรื่นเริงและสนุกสนานประจำปีร่วมกันเพราะความภาคภูมิใจ ความสุขใจ และความอิ่มใจ ที่ได้ปฏิบัติการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว  ดังนั้นความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีอันดีงามที่ควรสืบทอดต่อไป

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประเพณี และความเชื่อ เรื่อง บุญสารทเดือนสิบ

                       

ประเพณี และความเชื่อ เรื่อง บุญสารทเดือนสิบ
ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี “เปตพลี” ของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ปฏิบัติต่อเนื่องมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล  พระพุทธองค์เห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีงามจึงอนุญาตให้พุทธบริษัทปฏิบัติสืบเนื่อง
ต่อกันมา  จึงก่อเกิดประเพณีและพิธีกรรม   เพื่อให้มีพิธีการปฏิบัติเป็นแบบ  ยึดถือตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบจึงเป็นสื่อให้เกิดการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ หลังจากที่ตายไป  เชื่อว่าผู้ทำกรรมใดย่อมได้รับกรรมนั้น ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก เป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะผลแห่งบาปที่ทำไว้และ ดำรงชีพอยู่ด้วยการอาศัยส่วนบุญจากการ การอุปการะของญาติพี่น้องหรือผู้อื่น ที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ส่วนเดียว จึงจะมีความเป็นอยู่พออยู่ได้ ถ้าไม่มีใครอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับบุญ
เมื่อลูกหลานเชื่อว่าบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ต้องเสวยกรรมอยู่ในนรก ในช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ จนถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ จะได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานญาติพี่น้อง ที่เมืองมนุษย์ ดังนั้นในวันแรม  1  ค่ำ  จึงมีการทำบุญรับตายาย  และในวันแรม  15  ค่ำ  เดือนสิบ  เป็นวันที่เปตชน ทั้งหลายต้องกลับนรกตามเดิม ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษเปตชน อีกครั้งเป็นส่งตายาย เดินทางกลับเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที จึงมีการทำบุญยกหฺมฺรับใหญ่กันอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรพบุรุษเดินทางกลับอย่างมีความสุข มีสิ่งของที่ลูกหลานอุทิศไปให้ใช้ในระหว่างเสวยกรรมเพียงพอในรอบปี การจัดหฺมฺรับ  มีการบรรจุสิ่งของลงในภาชนะโดยชั้นล่างสุด   เป็นสิ่งของที่มีน้ำหนักมากจัดสิ่งของประเภทอาหารแห้ง   ลงไว้ที่ก้นภาชนะ  ได้แก่  ข้าวสารใส่รองก้นภาชนะแล้วใส่พริก  เกลือ  หอม  กระเทียม  กะปิ  น้ำปลา  น้ำตาล  มะขามเปียก  รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม  เนื้อเค็ม  หมูเค็ม  กุ้งแห้ง  เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นและน้ำดื่ม
โดยสรุปประเพณี พิธีการ และความเชื่อ เรื่องบุญสารทเดือนสิบมีขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกคือเนื่องมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่เชื่อว่าในปลายเดือนสิบปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และคนบาปทั้งหลายที่ตกนรก จะถูกปล่อยจากนรกให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องในวันแรม  1 ค่ำ เดือนสิบ และให้กลับไปนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ดังนั้นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็พยายามหาอาหารต่างๆ ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้  ประการที่สองเป็นการทำบุญเนื่องจากความชื่นชมยินดีในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตร  ประการที่สามเพื่อนำพืชผลต่างๆ ที่ได้รับจากการเกษตรไปทำบุญสำหรับพระภิกษุจะได้เก็บไว้เป็นเสบียงในฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มในตอนปลายเดือนสิบ และประการสุดท้ายเพื่อเป็นการแสดงความรื่นเริงและสนุกสนานประจำปีร่วมกันเพราะความภาคภูมิใจ ความสุขใจ และความอิ่มใจ ที่ได้ปฏิบัติการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว  ดังนั้นความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีอันดีงามที่ควรสืบทอดต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คุณเชื่อหรือไม่ที่ว่าฝันว่าฟันหักจะเสียญาติผู้ใหญ่ หรือเสียคนรัก


ความเชื่อฝันฟันหักจะเสียญาติผู้ใหญ่ หรือเสียคนรัก 
  
 เชื่อหลายคนนั้นคงเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องของการฝันเกี่ยวกับฟันหักมาบ้างแล้ว บางคนก็เชื่อหรือไม่บางคนก็ไม่เชื่อเลย ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคลเช่นกัน

อาทิ 
   คนสมัยโบราณพูดกันว่าคนใดที่ฝันว่าฟันหัก หมายความว่า ญาติผู้ใหญ่จะตาย และไม่เพียงคนไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อในเรื่องนี้ ทางฟิลิปปินส์เขาก็เชื่อกันว่า ถ้าฝันว่าฟันหัก เป็นลางบอกว่าญาติสนิทจะตายในไม่ช้า แต่เขามีวิธีแก้ด้วยการเอาฟันไปกัดกิ่งใดกิ่งหนึ่งของต้นไม้แล้วนำกิ่งไม้นั้นไปขายให้กับคนอื่นเขาเชื่อว่าทำอย่างนี้แล้วจะทำให้ความฝันนั้นไม่กลายเป็นความจริง 

    ที่ซาราวัคพวกไดยัคก็เชื่อเรื่องความฝันแบบนี้เหมือนกัน พวกไดยัคเขามีวิธีแก้ฝันไม่ให้เป็นจริง คือเมื่อใครฝันว่าฟันหักก็ต้องลุกขึ้นแต่เช้ามืด ห้ามเล่าความฝันให้ใครๆฟัง นำเอาเมล็ดข้าวโพดใส่ปากแล้วโปรยข้าวสีเหลืองไปทางทิศ ตะวันออก พร้อมกับถ่มเมล็ดข้าวโพดที่อมไว้ในปากออกมาพลางบอกกับภูตผีว่า 
 " นี่คือฟันที่ท่านต้องการละ อย่าเอานอกเหนือไปจากนี้เลย"  คือหมายความว่า อยากได้ฟัน ก็เอาฟันไปแต่อย่าเอาญาติพี่น้องไปเลย 

จริงหรือไม่ที่นกแสกเกาะหลังคาบ้าน แล้วจะเกิดลางร้าย

นกแสกเกาะหลังคาบ้าน เกิดลางร้าย 
 

นกแซกเป็นนกที่ถือว่า ให้ความอัปมงคลเป็นอย่างยิ่ง ไม่แต่เฉพาะ คนไทยเท่านั้นที่ถือในเรื่องนี้ฝรั่งเองก็ถือเคล็ดนี้เช่นกัน ก็เพราะโดยธรรมชาติ ของนกแซกมักจะไม่มาปะปนอยู่ตามที่อยู่อาศัยของคนให้เห็นนัก 
หากเมื่อใดมีนกแซกมาเกาะที่หลังคาบ้านใดแล้ว ก็มักจะมีอะไรไม่ดี แก่บ้านนั้น เช่น คนป่วยเอยคนเจ็บอยู่ก็อาจเสียชีวิตก็ได้ จึงมักจะมีคนนิยมแก้ เคล็ดให้ร้ายกลายเป็นดี ด้วยการนำเอาดอกไม้ ธูปเทียน สุรา บอกเล่าก็เพียง พอแล้ว คนโบราณบางท่านที่เคร่งมากๆ ก็อาจเพิ่มด้วย ข้าวสาร ข้าวตอก ผ้าแดง ผ้าขาวและเงินทอง 

นกแสก


เรามักกลัวว่าหากมีนกแสกไปเกาะที่บ้านใคร นั้นแสดงว่าเทวทูตมาเตือนว่าบ้านนี้จะมีคนตาย
คนโบราณเขามีความเชื่อว่า ถ้าบ้านไหนมีคนเจ็บ คนสูงอายุ หากมีนกแสกบินผ่านหลังคาบ้าน
แล้วร้องขึ้น แซ๊กๆๆ คนในบ้านที่เจ็บก็จะตาย ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง เพราะเหตุนี้เขาจึงเรียกนกผี
บางคนเลี้ยงในสวนปาล์มน้ำมัน เอาไว้จับหนูที่มาทำลายปาล์มน้ำมัน เขาว่ามันน่ารัก รูปนกแสกข้างบนนี้เอามาจากสวนปาล์มฯ


นกแสก บ้างก็เรียกกันว่า นกแฝก เป็นนกที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ นกฮูก นกเค้า เป็นนกกลางคืนที่มีแหล่งอาศัยแพร่กระจายอยู่เกือบทุกภูมิภาคของโลก พบมากในแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว และไทย ซึ่งพบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคตะวันออกเฉียงใต้

  ทั้งนี้ นกแสก มีชื่อเรียกตามภาษาอังกฤษว่า Barn Owl (Tyto akba) โดยคำว่า "Barn" มีความหมายว่า ยุ้ง ฉาง ส่วนคำว่า "Owl" คือกลุ่มนกฮูก นกเค้า และนกแสก แสดงให้เห็นได้ว่า นกแสก ชอบอาศัยอยู่ตามยุ้งฉาง รวมไปถึงวัด โรงนา หรือในที่รกร้างต่าง ๆ หากพบว่า นกแสก เข้ามาอาศัยใกล้มนุษย์แสดงว่ามีแหล่งอาหารของ นกแสก ซึ่งอาหารของ นกแสก ก็คือ หนู และแมลงกลางคืน

  แม้ นกแสก จะดูหน้าตาน่ากลัวสำหรับใครหลายคน แต่ในสายตาของกลุ่มอนุรักษ์นกแล้ว นกแสก เป็นนกที่หน้าตาน่ารัก วงหน้ามีขนสีขาวขึ้นเต็ม เป็นรูปหัวใจ ดวงตาดำกลมโต ปากแหลมงุ้ม ขนตัวด้านบนมีสีเหลืองปนน้ำตาลเทา มีจุดขาวและน้ำตาลประปราย ขนใต้ท้องสีขาว ส่วนปีกและหางมีลายขวาง สีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน เล็บเท้ายาวงุ้มแหลม เล็บนิ้วกลางลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ขายาว
อย่างไรก็ดี นกแสก จัดเป็นนกที่มีสายตาและประสาทหูดีมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ นกแสก ออกหากิน ขณะเดียวกัน นกแสก จะสายตาแย่ที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ดังนั้น เมื่อตะวันขึ้นแตะขอบฟ้า พวก นกแสก จะหาที่ตามซอกหลืบมืด ๆ หรือตามซอกโพรงไม้ เพื่อนอนหลับพักผ่อน

ด้วยเหตุนี้ นกแสก จึงมักถูกขับไล่ออกไปให้ห่างไกลจากหมู่บ้านหรือชุมชน หรือถูกยิงทิ้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ นกแสก มักไปอาศัยตามวัด หรือแม้แต่ป่าช้า เมื่อมีผู้พบเห็นนกแสกเกาะอยู่ตามป่าช้า หรือสุสาน ก็เลยยิ่งหลงเชื่อว่าเป็นนกผีมากขึ้นไปอีก และรวมทั้งอากัปกริยาของ นกแสก ที่มักทำตาโต ทำคอและหัวส่ายไปมาเมื่อตกใจ และเพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรูที่มันกลัวให้หนีไป เลยยิ่งทำให้คนเข้าใจไปว่ามันคือนกผีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นกแซกเป็นนกที่ถือว่า ให้ความอัปมงคลเป็นอย่างยิ่ง ไม่แต่เฉพาะ คนไทยเท่านั้นที่ถือในเรื่องนี้ฝรั่งเองก็ถือเคล็ดนี้เช่นกัน ก็เพราะโดยธรรมชาติ ของนกแซกมักจะไม่มาปะปนอยู่ตามที่อยู่อาศัยของคนให้เห็นนัก 
หากเมื่อใดมีนกแซกมาเกาะที่หลังคาบ้านใดแล้ว ก็มักจะมีอะไรไม่ดี แก่บ้านนั้น เช่น คนป่วยเอยคนเจ็บอยู่ก็อาจเสียชีวิตก็ได้ จึงมักจะมีคนนิยมแก้ เคล็ดให้ร้ายกลายเป็นดี ด้วยการนำเอาดอกไม้ ธูปเทียน สุรา บอกเล่าก็เพียง พอแล้ว คนโบราณบางท่านที่เคร่งมากๆ ก็อาจเพิ่มด้วย ข้าวสาร ข้าวตอก ผ้าแดง ผ้าขาวและเงินทอง